ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
และความดำรินี้เอง คือ จุดเริ่มต้นของความหายนะที่กำลังจะเกิดกับพระราชโอรสในอนาคตอันใกล้ นับแต่วันนั้น เมื่อพระราชาทรงสดับถ้อยคำสรรเสริญเยินยอของพระราชโอรสครั้งใด ก็คล้ายดั่งคมมีดที่กรีดใจทีละน้อยทีละน้อย ความริษยาก็เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 188
ข่าวการกลับมาของมโหสถบัณฑิตก็แพร่สะพัดไปทั่วพระนคร อาจารย์เสนกะทราบข่าวนั้น ก็สุดแสนจะดีใจ รีบกุลีกุจอขอเข้าเฝ้า เพื่อทูลถวายรายงานให้ทรงทราบข่าวนั้นทันที เมื่อพระเจ้าวิเทหราชทรงสดับข่าวอันเป็นมงคลนั้นแล้ว ก็ทรงดีพระทัยยิ่งนัก รีบประทับยืนขึ้น แล้วทอดพระเนตรผ่านช่องพระแกลมองดู ณ เบื้องล่างในทันที
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 178
ขณะนั้น พระเจ้าจุลนีเสด็จขึ้นสู่พระคชาธาร พระองค์ทรงสวมฉลองพระองค์ด้วยเกราะแก้วประดับเพชรมณี พระหัตถ์ทรงศร ประทับสง่าเหนือคอพระคชาธารซึ่งทรงพละกำลังมหาศาล พลางมีพระบัญชาสั่งขบวนพลทุกกองทัพ ทั้งพลช้าง พลม้า พลรถ พลราบ และกองขมังธนู ประชุมพร้อมกันเพื่อเตรียมเผด็จศึกทันที
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 172
คำกราบบังคมทูลที่สั้นๆ หนักแน่น และจริงจังของมโหสถบัณฑิต ทำให้พระเจ้าวิเทหราชนั้นทรงตกพระทัยกลัวจนแทบครองพระสติไม่อยู่ เกิดความเร่าร้อนในพระสรีระกาย จนปราณแทบจะดับลงในทันที จึงทรงครวญคร่ำรำพันไปต่างๆนานาว่า “มโหสถเอ๋ย ใจของเราเสียวสั่น สะท้านไหว เหมือนใบโพธิ์ที่ต้องลม บัดนี้ความเร่าร้อนได้เผาลนจิตใจของเราจวนเจียนจะละลาย เหมือนเบ้าหลอมทองที่ถูกสุมอยู่ในเตา"
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 171
ทันใดนั้นเอง ภาพที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า ทำให้พระองค์ถึงกับทรงตกพระทัย เพราะบัดนี้พระนครที่พระองค์ประทับอยู่ ได้ถูกกองทัพมหึมาเคลื่อนกำลังพลเข้าล้อมกำแพงพระนครไว้แล้วโดยรอบ แสงคบเพลิงนับแสนๆ ดวงถูกสาดส่องไปทั่วบริเวณ
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 168
พระเจ้าจุลนีทรงมีพระราชบัญชาให้เหล่าเสนาตระเตรียมกองทัพใหญ่ 18กองทัพ พร้อมกับให้สัญญาณแก่พระราชาทั้งร้อยเอ็ดพระองค์ว่า “ท่านทั้งหลาย ถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะร่วมใจกันเด็ดหัวศัตรูผู้ขลาดเขลา หากว่าทุกท่านพร้อมกันแล้ว ก็จงยกทัพออกไปในทันที เมื่อเผด็จศึกได้แล้ว เราถึงจะกลับมาดื่มฉลองชัยบานกันให้มโหฬารทีเดียว”
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 167
การก่อสร้างนครแห่งนี้ ได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๔เดือนเต็ม โดยมีปราการกำแพงล้อมรอบสูงถึง ๑๘ศอก โรงพักพลมีป้อมประตูเรียงรายเป็นระยะสลับด้วยซุ้มประตูเมืองที่มั่นคง ภายในกำแพงเมืองมีโรงช้างโรงม้าและราชพาหนะทั้งหลาย มีสระโบกขรณีโอบล้อมบริเวณพระราชนิเวศน์ มองไกลๆเหมือนที่ประทับนั้นลอยโดดเด่นอยู่เหนือผืนน้ำ
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 51
พระนางอุทุมพรเทวีจึงทรงดำริในพระทัย “โธ่เอ๋ย! นึกว่าจะวิเศษสักปานใดหนอ ที่แท้บุรุษนี้มาทอดทิ้งเราไป เพราะเหตุที่เขาเป็นกาลกรรณีนี่เอง บุญบันดาลให้เราก้าวขึ้นสู่ฐานะอันสูงส่งถึงเพียงนี้ ที่ไหนเลย ชายผู้นี้จักคู่ควรกับเราได้เล่า” พระนางทรงดำริในพระทัยเช่นนี้แล้ว ก็ทรงพระสรวลออกมาเบาๆ โดยหารู้ไม่ว่าทุกอากัปกิริยาของพระนางนั้น ตกอยู่ในสายพระเนตรของพระราชสวามีตลอดเวลา
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 50
ขณะที่กำลังเสด็จผ่านต้นมะเดื่อนั้น ท้าวเธอก็ทรงทอดพระเนตรเห็นนางนั่งอยู่ลำพังผู้เดียวบนคาคบต้นมะเดื่อ จึงทรงขอเหนี่ยวพระคชาธารให้หยุดรอ ขณะที่เหล่าข้าราชบริพารที่เหลือ ต่างพากันจ้องมองนางอย่างไม่กระพริบตา
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 45
ทันทีที่มโหสถมาถึง ก็รีบมุ่งตรงไปที่ริมขอบสระ ยืนจ้องมองดูแสงแก้วมณีนั้นอย่างพินิจพิจารณา แม้นสระโบกขรณีนั้นจะกว้างใหญ่สักเพียงใดก็ตาม แต่พอมโหสถสังเกตดูเพียงครู่เดียว ก็รู้ทันทีว่า แสงที่เห็นนั้นมิใช่แสงที่พวยพุ่งขึ้นมาจากสระอย่างแน่นอนแท้ที่จริงคงเป็นเพียงเงาสะท้อนของดวงแก้วมณีเท่านั้น แต่ปัญหาที่ยากยิ่งกว่านั้นก็คือ “แล้วแก้วมณีนั้นเล่า ตั้งอยู่ ณ ที่แห่งใดกัน”
ชาวบ้านตะลึงขุดพบเรือโบราณอายุกว่า 200 ปี คาดเป็นเรือพระเจ้าตาก
ทศชาติชาดก เรื่อง พระเตมีย์ ผู้ยิ่งด้วยเนกขัมมบารมี ตอนที่ 20
ครั้นลูกได้ครองราชย์ พรั่งพร้อมด้วยโอรสธิดาแล้วจึงค่อยออกบรรพชาในภายหลังเถิดนะลูก บัดนี้ลูกยังอยู่ในช่วงปฐมวัย จะมาบวชอยู่ในป่าแต่ผู้เดียวจะมีประโยชน์อะไรเล่า ( พระเตมียโพธิสัตว์จะตรัสตอบเช่นไร...)
ทศชาติชาดก เรื่อง พระเตมีย์ ผู้ยิ่งด้วยเนกขัมมบารมี ตอนที่ 19
พระองค์ทรงกลัวที่จะได้ครองราชย์แล้วต้องกลับไปสู่นรกนั้นอีก ตั้งแต่นั้นมา จึงทรงอดทนนิ่งเฉย ไม่ทรงขยับเขยื้อนพระหัตถ์และพระบาท ทั้งไม่ตรัสอะไรอีกเลย ปล่อยให้คนทั้งหลายเข้าใจพระองค์ว่าเป็นคนเขลา เป็นคนกาลกิณ