ขันธปริตตชาดก ชาดกว่าด้วยพระปริตรป้องกันสัตว์ร้ายต่าง ๆ
ณ ที่ฝั่งแม่น้ำที่คณะฤาษีของพระโพธิสัตว์อาศัยอยู่นั้น มีงูพิษนานาชนิดอาศัยอยู่ งูได้กัดฤาษีเสียชีวิตไปหลายตน พระโพธิสัตว์เห็นว่าฤาษีทั้งหลายต่างพากันหวาดกลัวงูพิษนั้น จึงเรียกประชุมและให้โอวาทแก่ฤาษีทั้งหลาย “ หากพวกท่านเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ งูทั้งหลายก็จะไม่กัดพวกท่าน "
สกุณีคติชาดก ชาดกว่าด้วยไม่หากินไกลถิ่น
เมื่อโผ่ขึ้นสูงได้ระดับ พญาเหยี่ยวก็ตีลังกาพุ่งดิ่งลงยังนกมูลไถบนพื้นดิน ยิ่งใกล้ก็ยิ่งทวีความเร็วมากขึ้น นกมูลเตรียมตัวพร้อมอยู่บนก้อนดินซึ่งมันคัดเลือกไว้ แล้วก็กระโดดหลบไปใต้ก้อนไถอย่างรวดเร็วตามธรรมชาติของมัน พญาเหยี่ยวนักล่าเมื่อยั้งไม่ทันก็ไถลเข้ากระแทกก้อนดินไถอันแหลมคมสุดแรงเกิด เลือดพุ่งทะลักออกจากร่างปักคาก้อนดินไถอย่างสิ้นฤทธิ์
สุราปานชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการดื่มสุรา
พวกดาบสดื่มสุราแล้วก็เมามายไม่ได้สติ บางพวกลุกขึ้นฟ้อนรำ บางพวกขับร้อง รุ่งเช้าพอสร่างเมา ฤาษีพากันตื่นเห็นอาการอันวิปปริตของตนนั้น ต่างก็ร้องไห้คร่ำครวญ “ โธ่ พวกเราไม่ได้กระทำอันสมควรแก่บรรพชิตเลย แล้วถ้าอาจารย์รู้จะเสียใจเพียงไร ที่มีศิษย์ทำตัวเยี่ยงนี้ ”
อนุสาสิกชาดก ชาดกว่าด้วยเรื่องดีแต่พูด
ในนครสาวัตถี ยังมีภิกษุณีผู้ชอบพร่ำสอนอยู่รูปหนึ่ง มีนิสัยชอบสั่งสอนและมักห้ามภิกษุณีรูปอื่น ๆ มิให้เข้าไปในที่หวงห้าม แต่ตนเองก็มิได้กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี กลับละเมิดเข้าไปในที่หวงห้ามเสียเอง
ขรัสสรชาดก ชาดกว่าด้วยบุตรที่มารดาละทิ้ง
วันหนึ่ง มีบัณฑิตผู้หนึ่งได้เดินทางไปพักที่ในหมู่บ้านนั้น เขาได้เห็นอำมาตย์ผู้นี้ เวลาจะเดินทางไปไหน ต้องมีคนตีฆ้องกลองนำหน้า มีบริวารห้อมล้อมเป็นที่เอิกเกริกใหญ่โต “ เวลาใดที่พวกโจรมาปล้นบ้าน เผาบ้านเรือน ฆ่าโคกิน แล้วจับเอาคนไปเป็นเชลยนั้น เมื่อนั้นบุตรธิดาละทิ้งแล้ว จึงมาตีกลองเสียงอึกทึก โดยแท้จริงอำมาตย์ผู้นี้เองเป็นคนทุจริต เป็นผู้สมคบกับโจร ”
โกสัมพิยชาดก ชาดกว่าด้วยอยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล
“ ต่อไปพวกเราอย่าได้ไปกราบไหว้ภิกษุพวกนี้อีกนะ ” “ พวกเราจะไม่ถวายบิณฑบาตด้วย ทำแบบนี้ ภิกษุเหล่านี้จะได้สำนึกเสียบ้าง” เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพวกอุบาสกลงทัณฑกรรมเช่นนั้นจึงสำนึกได้ พากันไปยังเมืองสาวัตถีกราบทูลขอขมาโทษต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
กัจจานิโคตตชาดก ชาดกว่าด้วยในการไหน ๆ ธรรมย่อมไม่ตาย
" ธรรมะคงตายไปจากโลกนี้แล้ว ไม่อย่างนั้นคนจิตใจชั่วอย่างสะใภ้ของเราคงไม่มีลูก และคงไม่มีความสุขเช่นนี้ ” วันหนึ่งหญิงชราได้นำข้าวของได้แก่ งา แป้ง ข้าวสาร ทัพพี ถาด และศีรษะมนุษย์ที่ตายแล้ว ๓ ศีรษะมาทำเตาไฟ เพื่อทำพิธีถวายมตกภัตแก่ธรรมในป่าช้า ด้วยเข้าใจว่าธรรมได้ตายไปแล้ว นางเริ่มก่อไฟแล้วลงน้ำสระผม บ้วนปาก สยายผม จากนั้นจึงเริ่มซาวข้าวเพื่อถวายมตกภัตแก่ธรรม
ขุรปุตตชาดก ชาดกว่าด้วยการทำตนให้ไร้ประโยชน์
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้ถูกภรรยาเก่าโลมเร้า แล้วทรงซักถามภิกษุนั้น “ จริงหรือภิกษุ ได้ทราบว่าเธอกระสันอยากสึก ” “ จริงพระเจ้าค่ะ ” “ เธอกระสันอยากสึกเพราะเหตุอะไร ” “ เพราะภรรยาเก่าพระเจ้าค่ะ ” “ ดูกรภิกษุหญิงนี้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เธอไม่เฉพาะในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนเธอกำลังจะกระโดดเข้าไฟตายเพราะอาศัยหญิงนี้ แต่อาศัยบัณฑิตจึงได้ชีวิตไว้ ”
กายนิพพินทชาดก ชาดกว่าด้วยความเบื่อหน่ายร่างกาย
รุ่งเข้าวันหนึ่ง ชายป่วยได้ตื่นเช้ากว่าปกติ เขาหันหน้าออกไปทางหน้าต่างเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ เขามองออกไปดูวิถีชีวิตของชาวบ้าน พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นพระภิกษุสงฆ์ออกมาบิณฑบาต แล้วเขาก็เกิดความคิดอย่างหนึ่ง “ จริงสินะ ชีวิตมันไม่เที่ยงจริง ๆ สังขารย่อมร่วงโรยเป็นธรรมดา ถ้าเราหายจากโรคนี้เราจะบวช ”
เสยยชาดก ชาดกว่าด้วยคบคนประเสริฐก็ประเสริฐ
เมื่ออำมาตย์ผู้หนึ่งได้มีโอกาสไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระพุทธองค์จึงตรัสถามถึงเรื่องการถูกใส่ร้ายจนต้องราชทัณฑ์ “ แม้หม่อมฉัน จะถูกจองจำใส่โซ่ตรวน แต่สิ่งนี้กลับทำให้หม่อมฉันได้รับประโยชน์ คือได้โอกาสปฏิบัติธรรม จนได้เห็นดวงตาแห่งธรรมพะยะค่ะ ”