สามเณรทัพพะ ได้รับยกย่องทางจัดเสนาสนะ
สามเณรทัพพะ บวชและได้บรรลุอรหัตผลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ เป็นสามเณรรูปแรกที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์และเป็นภิกษุรูปแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบวชยกให้ท่านเป็นภิกษุทั้งที่อายุไม่ครบยี่สิบปี
ติสสสามเณร สามเณรผู้รู้วันละสังขาร
ในสมัยพุทธกาลมีสามเณร น้อยองค์หนึ่งชื่อติสสะ อายุ ๗ ปีมาบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียน และปฏิบัติธรรมอยู่ในสำนักพระสารีบุตรเถระอัครสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นระยะเวลาหนึ่งปี
สามเณรปิโลติกะ อดีตเด็กขอทาน
ในสมัยพุทธกาลมีเด็กขอทานคนหนึ่งชื่อว่า ปิโลติกะ นุ่งผ้าเก่าๆขาดวิ่น ถือชามกระเบื้องเดินขอทานอยู่ไปมา พระอานนท์เห็นเข้าจึงเกิดความเมตตาชวนให้เด็กขอทานได้บวชในพระพุทธศาสนา สามเณรจึงได้บวชกับพระอานนท์นับแต่บัดนั้น
สามเณรสานุ ผู้ถูกยักษิณีเข้าสิง
สานุสามเณร แม้จะยังเยาว์ก็สามารถแสดงธรรมเทศนาได้แกล้วกล้าและไพเราะเกินตัว เทศนาทุกครั้งจะมี เทวดา ยักษ์ และอมนุษย์มาฟังด้วยเสมอ ท่านจึงเป็นที่เคารพของอมนุษย์และเทวดาจำนวนมาก ได้มียักษิณี (คือยักษ์ผู้หญิง) ตนหนึ่งซึ่งเคยเป็นมารดาในอดีตชาติของสามเณรมาฟังธรรมเทศนาของสามเณรอยู่เป็นประจำ
สามเณรนิโครธ ผู้จุดให้พระเจ้าอโศกมหาราชหันมานับถือและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ประมาณ ๓๐๐ ปีหลังพุทธปรินิพพาน มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งนามว่า สามเณรนิโครธ อายุเพียง ๗ ขวบ ได้ออกบวชและบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์สามเณรน้อยมีผิวพรรณผ่องใสและเป็นผู้ที่ฝึกตนเป็นอย่างดีจึงมีบุคลิกที่สงบเสงี่ยมสง่างามน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ทำให้พระราชาคือ พระเจ้าอโศกมหาราชเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในทันทีที่เห็นสามเณรเดินผ่าน
จุนทะสามเณร ผู้มีส่วนริเริ่มสังคายนา
จุนทะเป็นน้องชาย ๑ใน ๗ ของพระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ออกบวชเป็นสามเณรในสำนักพระสารีบุตร ผู้เป็นพี่ชายโดยมีพระอานนท์เป็นพระอุปัชณาย์ (พระผู้บวชให้) เมื่อบวชแล้วก็บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุธรรมเป็นอรหันต์ตอนอายุ ๗ ขวบพร้อมคุณวิเศษ มักอาสาแสดงปาฏิหาริย์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กุมารกัสสปสามเณร ผู้มีผิวพรรณดุจทองคำ
กุมารกัสสปะ เป็นชื่อที่พระเจ้าปเสนทิโกศลที่ทรงรับอุปการะเลี้ยงดูตั้งให้ เพราะมารดาของท่านได้มีศรัทธาออกบวชหลังจากแต่งงานแล้ว และไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์(ท้อง) ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตัดสินเรื่องนี้ว่าไม่ผิดศีลเพราะได้ตั้งครรภ์ก่อนบวช
เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน
ธุดงค์ผ่านเมืองผิดตรงไหน เพราะการจราจรที่ติดขัดขึ้นบ้าง หรือข้อวัตรปฏิบัติของการอยู่ธุดงค์ยังไม่ชัดเจน เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน ..
พุทธประเพณี : บวชพระ เดินธุดงค์ อบรมศีลธรรม
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 ธันวาคม - 1 มกราคม 2558 ตีพิมพ์บทความประกอบภาพสีสวยงาม โครงการบวชพระแสนรูป ธุดงค์ธรรมชัย และเด็กดีวีสตาร์ ในหัวข้อ พุทธประเพณี : บวชพระ เดินธุดงค์ อบรมศีลธรรม
เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
ดูก่อนภิกษุ เราตถาคตจะยกอุปมาให้เธอฟัง สมมติว่า มีภูเขาศิลาลูกใหญ่ยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ มีบุรุษผู้หนึ่งนำเอาผ้าขาวบางมาจากแคว้นกาสี แล้วเอาผ้านั้นลูบภูเขา ๑๐๐ ปีต่อครั้งหนึ่ง การที่ภูเขาศิลาใหญ่แท่งนั้นจะถึงความสิ้นไป เพราะความพยายามของบุรุษนั้น ยังเร็วกว่าระยะเวลาหนึ่งกัป ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอท่องเที่ยวไปมาอยู่ในวัฏสงสาร มิใช่ ๑ กัป มิใช่ ๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัป เป็นเพราะว่า วัฏสงสารนี้กำหนดที่สุดและเบื้องต้นมิได้