อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ยอดกัลยาณมิตร)
ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะแล้ว เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือ ทุกข์ และตัณหาอันเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันไปจากข้าศึก ให้ถึงพระนิพพานเป็นที่เข้าไประงับทุกข์ นี้แลเป็นสรณะอันเกษม นี้เป็นสรณะอันอุดม บุคคลอาศัยสิ่งนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (บรรลุธรรม)
ผู้ใดยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ผู้นั้นเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ สรณะของผู้นั้นเป็นสรณะอันเกษม เป็นสรณะอันสูงสุด บุคคลอาศัยสรณะนี้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
ปชาบดีเถรี ผู้รัตตัญญู (๓)
อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย พึงประพฤติตน ดุจคนมีศีรษะถูกไฟไหม้ มฤตยูที่จะไม่มาถึงย่อมไม่มี
สามเณรนิโครธ (๑)
ผู้ใดเห็นภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะ ให้ท่านยืนอยู่เบื้องหน้า ประคองอัญชลีนมัสการแล้ว ผู้นั้นจะได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไปสู่สุคติสวรรค์
พุทธชิโนรส (๕)
ถ้าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้เพียงครู่เดียว เขาย่อมรู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน เหมือนลิ้นที่รู้รสแกงฉะนั้น
พุทธชิโนรส (๓)
มารดาบิดาหรือว่าหมู่ญาติทั้งหลาย ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้ แต่จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ พึงทำบุคคลนั้นให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น
พุทธชิโนรส (๒)
จิตซึ่งบุคคลตั้งไว้ผิด พึงทำบุคคลนั้น ให้เลวทรามยิ่งกว่าความพินาศเสียหาย ที่โจรเห็นโจร หรือคนจองเวรเห็นคนจองเวรทำแก่กันนั้นเสียอีก
พุทธชิโนรส (๑)
ขอทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้ว จงนำไปสู่พระนิพพานอันสูญสิ้นกิเลสอาสวะ
พระนันทกเถระ (๑)
ความเคลือบแคลงสงสัยของหมู่ชน ย่อมไม่มีในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ว่าพระจันทร์จะพร่องหรือเต็มก็ตาม แต่พระจันทร์ก็คงเต็มดวง ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้น มีความชื่นชมยินดีต่อการแสดงธรรมของพระนันทกะ และมีความดำริบริบูรณ์แล้ว ก็ฉันนั้น
พระโสณโกฬิวิสเถระ
ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์ ไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม เพราะวันคืนผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น ย่อมพร่องจากประโยชน์นั้น